“พรีโม” เผยมุ่งสร้าง “Super Living Service” รับเมกะเทรนด์ผู้บริโภค ขึ้นแท่น Happy Maker

“พรีโม” ประเมิน 5 เมกะเทรนด์เปลี่ยนแปลงธุรกิจบริการอสังหาฯ ประกาศแผนธุรกิจปี 66

ขยายอาณาจักรหลากมิติสอดรับเมกะเทรนด์ เพิ่มเซกเมนต์ใหม่-คลอดธุรกิจใหม่-บุกต่างจังหวัด สร้าง “Super Living Service” บริการอสังหาฯ ครบวงจรเพื่อทั้งลูกค้า B2B และ B2C หวังเป็น Happy Maker ตั้งเป้าทั้งปีบริหารนิติบุคคลและบริหารงานขายทะลุ 150 โครงการ พร้อมกวาดรายได้ 1,300 ล้านบาท โต 3 เท่าจากปี 64

ข่าวออกแบบใหม่

น.ส.จตุพร วิไลแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรี โม เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PRI กล่าวว่าสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ทั่วโลก มีเมกะเทรนด์ที่อาจเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับบริการอสังหาริมทรัพย์ใน 5 ด้านหลัก ได้แก่ 1.การเปลี่ยนแปลงมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ขยับมาเป็นทางเอเชียมากขึ้น ไทยเป็นประเทศเป้าหมายทั้งการลงทุนและการท่องเที่ยวของเหล่ามหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ทำให้ตลาดซื้อ-ขาย-เช่าอสังหาริมทรัพย์ยังเติบโตต่อเนื่อง 2.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาใหญ่ของโลกนำมาสู่การใช้พลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นทั่วโลก ส่งผลให้มีความต้องการ EV Charger ตลอดจนโซลาร์เซลล์ในที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น

3.ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และมีบทบาทต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตมากขึ้น 4.การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั่วโลกก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ความต้องการการบริการสำหรับผู้สูงวัยจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และ 5.การเป็นเมืองอย่างรวดเร็ว ประชากรย้ายถิ่นฐานไปหัวเมืองต่างๆ มากขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการบริการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ขยายไปตามพื้นที่ใหม่ๆ มากขึ้น

แนวโน้มดังกล่าวทำให้ในปี 66 บริษัทเตรียมแผนการเติบโตภายใต้แนวคิด “Super Living Service” ขยายขอบเขตธุรกิจบริการใหม่ๆ ทั้งกลุ่มต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในหลากหลายมิติ ได้แก่ 1.การเพิ่มบริการในเซกเมนต์ใหม่ เช่น การขยายบริการบางกลุ่มธุรกิจจากเซกเมนต์ทั่วไป สู่เซกเมนต์ระดับลักชัวรี 2.การเปิดตัวธุรกิจใหม่ มุ่งเน้นธุรกิจที่จะช่วยเติมเต็มความครบวงจรของงานบริการ และธุรกิจที่สอดคล้องกับทิศทางเมกะเทรนด์โลก และ 3.การบุกตลาดต่างจังหวัด วางแผนส่งบริษัทย่อยบุกให้บริการในพื้นที่ทั้ง 4 ภูมิภาคหลักของประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสานที่ จ.ขอนแก่น และเขาใหญ่ ภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ที่ หัวหิน และ จ.ภูเก็ต และภาคตะวันออก ที่ จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง ข่าวออกแบบเพิ่มเติม>>> “ขวัญข้าว Cafe” รีโนเวทบ้านไม้เก่าให้กลายเป็นคาเฟ่แนวมินิมอล ลงทุนในงบ 300,000 บาท

“ขวัญข้าว Cafe” รีโนเวทบ้านไม้เก่าให้กลายเป็นคาเฟ่แนวมินิมอล ลงทุนในงบ 300,000 บาท

“ขวัญข้าว Cafe” รีโนเวทบ้านไม้เก่าให้กลายเป็นคาเฟ่แนวมินิมอล ลงทุนในงบ 300,000 บาท

ออกแบบ

เป็นอีกไอเดียที่น่าสนใจจาก @jeab_glamourpuss ที่ได้ลงทุน 300,000 บาท ในการปรับเปลี่ยนบ้านไม้เก่าให้กลายเป็นคาเฟ่สไตล์มินิมอล

โดยเป็นการปรับพื้นที่ชั้นล่างของบ้าน ให้มีบรรยากาศที่อบอุ่นตามสไตล์มินิมอล ในขณะที่โครงสร้างเดิมๆ ของบ้าน ก็ยังคงมีกลิ่นอายของบ้านเดิมอยู่

เดิมทีอาคารที่นำมาปรับปรุงเป็นคาเฟ่ในครั้งนี้ เป็นอาคารครึ่งไม้ครึ่งปูน มีดีไซน์แบบเรียบๆ ซึ่งจะพบเห็นได้ทั่วไปในหลายพื้นที่ของเมืองไทย

พื้นที่ชั้นล่างจะมีลักษณะที่กว้าง โปร่งสบาย เพดานก็อยู่สูง ทำให้มีศักยภาพที่เหมาะกับการนำมาทำเป็นคาเฟ่นั่นเอง

เริ่มปรับปรุงพื้นที่ชั้นล่าง โดยใช้งบประมาณไปทั้งสิ้นประมาณ 300,000 บาท

และนี่ก็คือโฉมหน้าของคาเฟ่หลังจากถูกปรับปรุง จะเห็นได้ว่ารูปทรงของคาเฟ่ ยังคงมีลักษณะแบบบ้านเดิมๆ แต่มีรายละเอียดการตกแต่งที่สวย และมีชีวิตชีวาขึ้น

บรรยากาศภายในร้านจะให้ความอบอุ่น ซึ่งได้มาจากโทนสีครีม และสีน้ำตาลที่ใช้ตกแต่งนั่นเอง

แนะนำข่าวออกแบบเพิ่มเติม :  “วิศวกรรมจีโนม”เทคโนโลยี การออกแบบชีวิตแห่งอนาคต

สาวโพสต์โวย “ห้างใหม่” ทำสัญลักษณ์ห้องน้ำสุดสับสน คุณป้ามองแล้วมองอีก ก็ยังงง

ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ เพื่อระบายความไม่พอใจต่อสัญลักษณ์ห้องน้ำศูนย์การค้าชื่อดังแห่งหนึ่ง

สาวโพสต์โวย ห้างใหม่

ที่เพิ่งเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ เพราะทำให้ตนสับสนว่าเป็นห้องน้ำชายหรือห้องน้ำหญิง ไม่ใช่แค่นั้นยังทำให้ผู้ใช้บริการคนอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่าตน แยกไม่ออกเช่นเดียวกัน

“เมื่อวันก่อนตอนไปห้างดังห้างหนึ่ง เดินเลี้ยวไปเข้าห้องน้ำ เราก็เดินไปตามทางตามสัญชาตญาณ ผ่านห้อง(ที่คิดว่าเป็น)ห้องน้ำชาย เลี้ยวไปตามทางเพื่อไปห้องน้ำหญิง แบบไม่ได้ตั้งใจดูป้ายสัญลักษณ์อะไร จนกระทั่งตรงหน้าห้องน้ำ(ที่คิดว่าเป็น)ห้องน้ำหญิง มีคุณป้าคนนึงแกยืนจ้องป้ายสัญลักษณ์หน้าห้องอยู่นานมาก ทำนองว่า นี่ห้องน้ำหญิงจริงป่ะวะ เราเลยหยุดและฉุกคิดเลย ว่าเออว่ะ ใช่ห้องน้ำหญิงมั้ย มองไปที่สัญลักษณ์ ก็เห็นดังภาพ _ี_่า ไม่สื่อสารอะไรเลย”

แนะติดตัวอักษรกำกับ

ผู้โพสต์บอกว่า อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มองไม่ออกว่าเป็นห้องน้ำหญิงหรือชาย เพราะในสถานที่จริง สัญลักษณ์ห้องน้ำทั้ง 2 ตั้งอยู่ห่างกัน จึงดูออกยาก แต่ถ้าวางไว้ใกล้กันก็อาจมองออกง่ายกว่านี้ แต่ถึงอย่างนั้น ก็แนะนำว่า ทีมงานของห้างควรหาตัวอักษรมาติดกำกับไว้จะดีกว่า

“คิดว่าถ้าดูสองสัญลักษณ์วางไว้ข้างกัน มันพอเข้าใจนะว่าอันไหนหญิงชาย แต่ปัญหาคือตรงหน้างานจริง เราไม่ได้เห็นทั้งสองอันอยู่ข้างกัน เราเห็นแค่ชิ้นเดียว แล้วเราจะงง เลยคิดว่าเขาน่าจะปรับปรุงนะ คนน่าจะบ่นเยอะ อย่างน้อยถ้ายังอยากรักษาสัญลักษณ์นี้เอาไว้ เอา text ไปกำกับไว้หน่อยก็ได้ เห็นแก่ผู้คนด้วยเถิด มันมีคนงงอยู่จริงๆ”

อัพเดทข่าว แนะนำข่าวเพิ่มเติม : “วิศวกรรมจีโนม”เทคโนโลยี การออกแบบชีวิตแห่งอนาคต

“วิศวกรรมจีโนม”เทคโนโลยี การออกแบบชีวิตแห่งอนาคต

การสร้างจีเอ็มโอโดยอาศัยแค่การปรับแต่งพันธุกรรมตัดๆ ต่อๆ นิดๆ หน่อยๆ แบบนี้ ถือว่าออกแบบสิ่งมีชีวิตใหม่หรือยัง?

วิศวกรรมจีโนม

 

สำหรับบางคนอาจจะใช่ ถ้าคุณต้องการแค่คุณสมบัติเฉพาะไม่กี่อย่าง จะไปทำให้ยากทำไม CRISPR ตัดต่อไม่กี่ยีนพอแล้ว สำหรับจอร์จ เชิร์ช (George Church) นักชีววิทยาสังเคราะห์ชื่อดังจากเอ็มไอที ไอเดียน้อยแต่มาก จัดเท่าที่จำเป็นแบบนี้ดีที่สุด

ซึ่งก็ไม่ผิด ในมุมวิศวกรรม จะเลือกเส้นทางยากไปทำไม ถ้าทางลัดมีให้ไปก็ไปทางลัด ตราบใดที่สิ่งมีชีวิตที่สร้างมาใหม่นั้นตอบโจทย์ ก็คือจบ

แต่สำหรับนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่ม การสร้างและใช้งานจีเอ็มโอไม่ถือว่าจีรัง และถ้าเอาไปใช้แบบไม่ระวัง ก็อาจจะเจอเซอร์ไพรส์แบบ งงๆ ได้ทุกเมื่อ

“อะไรที่ผมสร้างไม่ได้ ผมยังไม่เข้าใจ” ประโยคเด็ด บนกระดานของนักฟิสิกส์ในตำนาน ริชาร์ด ไฟน์แมน ยังคงเป็นเหมือนเหล็กแหลมทิ่มแทงใจของนักชีววิทยาสังเคราะห์กลุ่มใหญ่ หนึ่งในนั้นก็คือ เจ เครก เวนเมอร์ (J Craig Venter) นักชีววิทยาและผู้ประกอบการชื่อดัง ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการจีโนมมนุษย์

“ชีววิทยาคือการศึกษาชีวิต” ถ้าอยากเข้าใจชีวิตจริงๆ ต้องสร้างชีวิตจริงๆ ขึ้นมาให้ได้ และการสร้างที่ว่าคือต้องออกแบบจีโนมได้เอง รู้ลึก รู้จริงว่าใส่ยีนอะไรเข้าไปบ้างในจีโนม และแต่ละยีนสำคัญอย่างไรในการดำรงอยู่

ไอเดียนี้ทำให้เกิดศาสตร์ที่เรียกว่า “วิศวกรรมจีโนม” และโครงการสร้างจีโนมสิ่งมีชีวิตสังเคราะห์ใหม่ขึ้นมามากมาย ที่พอสำเร็จก็เป็นข่าวฮือฮา ลงหน้าหนึ่ง ขึ้นปกนิตยสาร และหนังสือพิมพ์มาแล้วทั่วโลก

“สร้างชีวิต ขึ้นมาจากสารเคมีไร้ชีวิต ฤา มนุษย์กำลังเล่นบทพระเจ้า?”

แบคทีเรียจีโนมสังเคราะห์ตัวแรกเปิดตัวอย่างลือลั่นในสื่อสารพัดแขนง มันถูกตั้งชื่อว่า Mycoplasma JCVI Syn1.0 หรือ Synthia

แต่จริงๆ แล้ว ความสำเร็จของ Synthia นั้นก็ยังไม่จริง เพราะจีโนมของ Syn1.0 นั้น แม้จะสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ในหลอดทดลอง แต่รหัสจีโนมส่วนใหญ่ก็ยังก๊อปมาจากแบคทีเรียในธรรมชาติอยู่ดี

ตอนนี้ ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่เทคนิคการสังเคราะห์จีโนม แต่อยู่ที่ความเข้าใจชีวิต ว่าชีวิตที่เรียบง่ายที่สุดจำเป็นต้องมียีนอะไรบ้างเพื่อการอยู่รอดและดำรงเผ่าพันธ์ุ ทว่า ในกรณีของแบคทีเรีย E. coli ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในห้องปฏิบัติการทั่วโลก เรายังไม่รู้หน้าที่ของยีนเกือบหนึ่งในสามในจีโนม แม้ลำดับจีโนมของมันถูกศึกษาจนปรุตั้งแต่ปี 1997

เครกจึงรวมทีมนักชีววิทยาสังเคราะห์กลุ่มใหญ่ทำมิชชั่นเพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตที่มีจีโนมที่เล็กที่สุดและเรียบง่ายที่สุดขึ้นมา โดยการค่อยๆ ตัดยีนที่ไม่จำเป็น (หรือยังไม่รู้หน้าที่) ออกทีละยีน

และในเวลานี้ แบคทีเรียที่มีจีโนมขนาดเล็กที่สุดในประวัติศาสตร์ M. mycoides JCVI Syn3A หรือ SynA ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จีโนมของมันมีขนาดเล็กกว่าของ E. coli ถึง 8 เท่า และมียีนเพียงแค่ 493 ยีนเท่านั้น ทว่า ใน 493 ยีน ก็ยังมียีนอีกถึง 92 ยีนที่ยังไม่รู้เลยว่าเอาไว้ทำอะไรกันแน่ในเซลล์ แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพในปัจจุบัน คาดว่าอีกไม่นานก็น่าจะทะลุปรุโปร่ง และเมื่อไรที่รู้ครบ จบทั้งจีโนม เทคโนโลยีนี้ก็อาจจะพลิกโฉมวงการเทคโนโลยีชีวภาพไปอีกครั้ง

บอกเลยว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง แม้ตอนตั้งไข่อาจจะเดินไปได้ช้า แต่ถ้าเริ่มก้าวไปข้างหน้าจริงๆ ได้เมื่อไร คงจะเดาได้ยากว่าจะสร้างแรงกระเพื่อมแค่ไหนในสังคมโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสิ่งเเวดล้อม

อย่างน้อย ถ้ารู้ชัดว่าเรากำลังดีลกับอะไรอยู่ เราได้สร้างอะไรขึ้นมา ก็น่าที่ควบคุมได้ง่ายกว่าและจะเสี่ยงน้อยกว่าในระยะยาว ถ้าเทียบกับจีเอ็มโอ

เพราะคำถามที่แท้จริงก็คือ “จะสร้างจีเอ็มโอไปทำไม ถ้าคุณออกแบบสิ่งมีชีวิตใหม่ได้ตั้งแต่ต้น!”  themoneybet356